Squier by Fender & The Story Behind the Name

ภาพของ Squier ที่เราทั่วๆไปรู้จักคือเป็นผลิตภัณฑ์ระดับรองลงมาของ Fender ถ้าจะว่าอย่างนั้นก็คงไม่ผิดนัก แต่เมื่อคุณได้อ่านเรื่องราวต่อไปนี้จบ คุณก็จะได้รู้ว่าแท้จริงแล้ว Squier ก็คือ Fender นั่นเอง เพียงแต่เป็นในอีก เวอร์ชั่นหนึ่งนั่นเอง

Squier มักจะได้รับเสียงวิจารณ์ในแง่ดีเสมอมาและถูกยกให้เป็นเครื่องดนตรีคุณภาพดีที่สุด งดงามที่สุด และ มีความสร้างสรรค์ลงตัวที่สุดหากเทียบกับเครื่องดนตรีในระดับราคาเดียวกัน แต่เรื่องราวเบื้องหลังและการเดินทาง ของ Squier นั้นมีมายาวนานกว่าที่เราหลายคนจะคาดคิดนัก

 


ความเป็นมา

เรื่องราวของ Squier เริ่มต้นขึ้นในศตวรรษที่ 19 พร้อมกับชายที่ชื่อ Jerome Bonapart Squier ผู้อพยพจากอังกฤษมาตั้งถิ่นฐานอยู่ในเมืองแบทเทิล ครีก รัฐมิชิแกน สหรัฐอเมริกา บ้านเดียวกับนาย W.K. Kellogg เจ้าพ่ออาหารเช้าซีเรียล คอร์นเฟลคยี่ห้อ Kellogg ชื่อดังนั่นแหละ! นายเจอโรมเขาย้ายมาอยู่ที่แบทเทิล ครีกตั้งแต่ช่วงทศวรรษ 60 เริ่มอาชีพด้วยการเป็นเกษตรกรและช่างทำรองเท้า ขณะเดียวกันก็ศึกษาวิธีการทำไวโอลินด้วยตัวเองไปด้วย หลังจากนั้นได้ย้ายไปอยู่บอสตัน และเริ่มผลิตเครื่องดนตรี แฮนด์เมดคุณภาพสูงจำนวนมากร่วมกับลูกมือที่ชื่อ Victor Carroll Squier ผู้ซึ่งเจอโรมรับไว้เป็นบุตรบุญธรรมด้วย

ในปี 1890 หนุ่มน้อยวิคเตอร์ได้ย้ายกลับไปอยู่ที่แบทเทิล ครีกอีกครั้ง และได้นำเอาประสบการณ์และทักษะความรู้ ที่มีอยู่ทุ่มเทให้กับธุรกิจการผลิตสายสำหรับเครื่องดนตรี ธุรกิจดำเนินไปอย่างสวยงาม และเมื่อมีทุนทรัพย์มากพอ เขาจึงขยายกิจการด้วยการเปิดโรงงานแห่งใหม่ในปี 1927 และ ใช้เป็นที่ผลิตไวโอลิน แบนโจ กีตาร์ และผลิตสายของ เครื่องดนตรี นอกจากนี้ มิสเตอร์วิคเตอร์ สไควร์ ยังเป็นคนหนึ่งที่หลงใหลในเสน่ห์ของไวโอลินอย่างไม่เสื่อมคลาย ในปี 1944 เขาได้เขียนหนังสือชีวประวัตินักไวโอลินผู้ยิ่งใหญ่คนหนึ่งของโลกนาม Stradivarius

ปี 1965 บริษัท V.C. Squier ถูกขายให้กับ Fender ซึ่งก็เป็นปีเดียวกันกับที่ Fender ถูกขายให้กับบริษัท CBS ในช่วงกลางทศวรรษ 60 ยังเคยมีปรากฎโฆษณาสายกีตาร์ Esquier โดยมีนายแบบเป็น Jimi Hendrix ยืนเล่นกีตาร์ Fender อยู่ และแล้วในปี 1972 โรงงานดั้งเดิมที่เมืองแบทเทิล ครีกได้ถูกปิดลง เพื่อ CBS จะได้เข้าไปเปิดโรงงาน ในเมืองนั้นแทน

ต้นทศวรรษ 80 Fender ถูกรุกหนักจากบรรดาบริษัทผลิตกีตาร์ก็อปปี้ราคาถูกจากประเทศทางแถบเอเชียโดย เฉพาะญี่ปุ่น จนถึงขนาดทำให้กีตาร์ Fender Stratocaster กลายเป็นรูปทรงกีตาร์ที่ถูกเลียนแบบมากที่สุดในโลก ซึ่งบรรดานักก็อปปี้สามารถทำกำไรได้มหาศาลเสียด้วย Fender จึงแก้เกมส์ด้วยการตั้งโรงงานของ Fender เองแท้ๆขึ้นที่ญี่ปุ่นเสียเลย โดยเป็นการร่วมทุนกับสองผู้แทนจำหน่ายรายใหญ่ของประเทศ และบริษัท Fender Japan จึงกำเนิดขึ้นอย่างเป็นทางการในเดือนมีนาคมปี 1982 จุดประสงค์เพื่อผลิตและจำหน่ายกีตาร์ตรา Fender แท้ๆให้กับตลาดญี่ปุ่นโดยเฉพาะ

คกลยุทธการนำ Fender กลับมาครองตลาด


ขั้นแรก คือ การใช้เสน่ห์ความคลาสสิคและความงามอันอมตะในยุครุ่งเรืองของ Fender ช่วงทศวรรษ 50-60 กลับมามีชีวิตอีกครั้ง ในตอนแรก Fender ตั้งใจจะทำรุ่น Vintage Reissue นี้ทั้งที่โรงงานในอเมริกาและญี่ปุ่น แต่ปรากฏว่าทางอเมริกาประสบปัญหาบางประการทำให้ไม่สามารถผลิตและจำหน่ายได้จนกระทั่งถึงปี 1983 ทางญี่ปุ่นจึงนำรุ่นนี้ออกวางจำหน่ายก่อน ในขั้นแรกทางญี่ปุ่นตั้งใจจะผลิตและจำหน่ายภายในประเทศเท่านั้น แต่ทางตัวแทน Fender ในยุโรปได้กดดันทางอเมริกาให้ทำเครื่องดนตรี Fender ระดับโลว์-เอนด์ ราคาถูกลง สำหรับตลาดรองในยุโรปเพื่อแข่งขันกับกีตาร์ที่ผลิตจากโรงงานญี่ปุ่นหลายๆโมเดลที่มีราคาถูกกว่ามาก

Fender ญี่ปุ่นจึงได้เริ่มส่งออกกีตาร์รุ่น Vintage Reissue ให้กับตลาดยุโรปในปี 1982 นั่นเอง แต่ใช้ชื่อ ตราสินค้าใหม่ว่า "Squier"

มาปลายปี 1983 ทางโรงงาน Fender อเมริกาก็ยังไม่สามารถผลิตสินค้าได้ทันตามความต้องการ ทาง Fender ญี่ปุ่นจึงได้ผลิต Squier Stratocaster และ Telecaster เพื่อส่งออกไปยังตลาดอเมริกาด้วย จึงอาจกล่าวได้ว่า Squier Strat กับ Tele เป็นจุดเริ่มต้นของ Fender ญี่ปุ่นในการผลิตสินค้าจำหน่ายทั่วโลกในเวลาต่อมา และเป็น ก้าวที่ทำให้ Fender กลายเป็นโรงงานผลิตกีตาร์ระดับอินเตอร์เนชั่นแนลมาจนทุกวันนี้

ในตอนแรกที่ Squier ถูกส่งออกไปยังยุโรป บริษัทได้ใช้โลโก้ Squier ตัวไม่ใหญ่นักประทับอยู่ที่หัวกีตาร์ แต่ต่อมาได้เปลี่ยนโลโก้ใหม่ให้ใหญ่และเด่นชัดขึ้น และใช้คำว่า "by Fender" ตัวเล็กๆพิมพ์อยู่ด้านล่างโลโก้ นับเป็นการกำเนิดของ Squier อย่างเต็มตัว ซึ่ง Squier ได้รับการยอมรับจากผู้เล่นในวงกว้างอย่างต่อเนื่อง บริษัทจึงได้เริ่มขยายฐานการผลิตออกไปยังประเทศเพื่อนบ้านอีกหลายประเทศ เช่นเกาหลีที่ก่อตั้งโรงงานขึ้นในปี 1985 นอกจากนี้โรงงาน Fender ที่สร้างใหม่ขึ้นในเมืองเอนซีนาดา เม็กซิโก ปี 1987 ก็ยังเคยผลิตกีตาร์ Squier ในช่วง ต้นทศวรรษ 90 ด้วย โดยทุกโรงงานจะได้รับการตรวจสอบคุณภาพและดูแลการผลิตภายใต้มาตรฐานของ Fender อย่างเข้มงวด

 
   
 


Squier ในตอนนี้

ปัจจุบัน Squier สามารถสร้างแบรนด์จนแข็งแรงและเป็นที่ยอมรับจากบรรดานักดนตรีในวงกว้าง ถึงแม้หลายคน จะมองว่าเป็นแบรนด์ระดับรองของ Fender แต่บ่อยครั้งที่เราจะเห็นว่าคุณภาพของสินค้าที่ออกมามีคุณภาพสูง เกินกว่าภาพที่อยู่ในใจเรามากนัก และ Fender เองก็ภาคภูมิใจกับความเป็น Squier อย่างแท้จริง

    นอกจากนี้ Squier ยังได้พยายามพัฒนาภาพพจน์ของตัวเองด้วยการให้ความสำคัญและจริงจังกับคุณภาพการผลิต ให้อยู่ในระดับสูงทุกตัว ทุกวันนี้ Squier เป็นแบรนด์ที่ยืนหยัดได้ด้วยตัวเองแล้ว จึงเริ่มมีการผลิตเครื่องดนตรี ที่มีดีไซน์ซับซ้อนขึ้น มีแนวความคิดที่สร้างสรรค์มากขึ้น มีการผลิตแอมป์ ระบบ P.A. ภายใต้ตรา Squier อย่างเต็มภาคภูมิ   ตัวอย่างกีตาร์รุ่นที่โดดเด่นอย่างเช่น Venus Model ที่ได้รับอิทธิพลจากกีตาร์คัสตอมช็อพที่ Squier ทำให้กับเจ้าแม่กรันจ์ Courtney Love  หรืออย่าง Jagmaster ที่เป็นการยืมแบบมาจาก Fender Jaguar ผสมกับ Jazzmaster ที่นำมาโมดิฟายน์ใหม่ให้เป็นปิ้กอัพฮัมบักเกอร์ หรือจะเป็นรุ่น Super Sonic Model ที่ได้รับอิทธิพลจาก Fender Jaguar ที่ Jimi Hendrix เคยเล่นโดยกลับหัว และอีกหลายต่อหลายรุ่น ที่ล้วนแต่มีเสน่ห์ในแบบของตัวเอง

และที่พิเศษคือในปี 2003 นี้ Squier ได้แนะนำรุ่น Special Limited Edition ที่ผลิตออกมาจำนวนจำกัด เท่านั้น ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่า "สเปเชี่ยล" แสดงว่าต้องมีอะไรเด็ดๆแน่นอน! ในรุ่นนี้ Squier ตั้งใจทำออกมาโดย ใช้สเป็คกีตาร์ Fender อเมริกาเป็นแม่แบบ อย่างในรุ่น Standard Strat เป็นตัวอย่าง ซึ่งโดยทั่วไปรุ่นนี้จะใช้ไม้ Agathis ทำบอดี้แต่ถ้าเป็นรุ่นสเปเชี่ยลจะใช้ "ไม้อัลเดอร์" นอกจากนี้รายละเอียดอย่างอื่นก็พิเศษขึ้นตามไปด้วย เช่น พวกปิ้กการ์ดหรือชิ้นส่วนฮาร์ดแวร์ รวมไปถึงการทำอินเลย์จุดบนเฟร็ตบอร์ดด้วย เรียกว่าพิเศษกันทุกกระเบียดนิ้ว เลยทีเดียว มีการทำสีที่แตกต่างและโดดเด่นจากเดิมๆไม่ว่าจะเป็น "ซิลเวอร์เบิร์ส" สีเงินที่มีการไล่โทนสีให้เข้มขึ้นอย่างประณีต พร้อมปิ้กการ์ดมุกสีขาว (ซึ่งถ้าเป็นกีตาร์ก็อปปี้อื่นๆทั่วไปมักจะใช้ปิ้กการ์ดพลาสติกธรรมดา) นอกจากนี้ยังมีบอดี้สี "เชอร์รี่ ซันเบิร์ส" ตัดกับปิ้กการ์ดสี "กรีน มินท์" และยังมีรุ่นบอดี้สีขาวแต่เป็นขาวแบบวินเทจที่เรียกว่า "วินเทจ ไวท์" ใช้ปิ้กการ์ด มุกสีแดงตัดกับสีของบอดี้ได้อย่างโดดเด่นสะดุดตา ทั้งสามสีดังกล่าวใช้ฮาร์ดแวร์โครเมี่ยม ส่วนอีกสีหนึ่งคือสีน้ำเงิน "อิเล็กทริก บลู" และสีขาว "โพลาร์ ไวท์" จะพิเศษ ตรงที่มีการลงสีที่หัวกีตาร์ให้เป็นสีเดียวกับบอดี้ด้วย ตัวนี้จะใช้ปิ้กการ์ดและฮาร์ดแวร์สีดำ ทำให้ดูโมเดิร์นแต่ยังคงแฝง ความสุขุมไว้ในที ทุกตัวที่กล่าวมานี้มีการทำอินเลย์จุดบนเฟร็ตบอร์ดด้วยมุกขาว ถ้าสังเกตที่หัวจะเห็นว่ามีการเปลี่ยนแปลงโลโกเล็กน้อย ตรงคำว่า "by Fender" ที่เคยเป็นตัวหนังสือธรรมดาก็กลายเป็นโลโก Fender ที่เห็นแต่ไกลก็รู้ว่าเป็น Fender ทันที เนื้องานที่ออกมาสะท้อนให้เห็นถึงความประณีตละเอียดอ่อนที่ Squier ไม่ยอมปล่อยให้พลาดเลย เห็นไหม…บอกแล้วว่า "ไม่ธรรมดา" เพราะฉะนั้นรีบเป็นเจ้าของเสียก่อนที่จะสายเกินไป

วันนี้ Squier มีอายุครบ 21 ปีแล้ว ยังคงมีการผลิตเครื่องดนตรีโมเดลใหม่ๆออกมาอย่างสม่ำเสมอและได้รับความนิยม มากขึ้นเรื่อย ๆ สำหรับนักกีตาร์หรือมือเบสมือใหม่หรือผู้ที่มีงบประมาณค่อนข้างจำกัด เมื่อได้รู้อย่างนี้ คุณจะยังหันไปมองกีตาร์ก็อปปี้อื่นอีกทำไม ในเมื่อ Fender มี Squier ที่ให้คุณได้ครบสมบูรณ์ ทุกอย่างอยู่แล้ว!


 

    ©Copyright 2005 Beh Ngiep Seng Musical Instruments Ltd.,Part. All reserved.