Valvetronix ToneLabSE

Valvetronix ToneLabSE มัลติเอฟเฟกต์โมเดลลิ่งคอนเส็พต์ใหม่จาก Vox ที่ผสมผสานความโดดเด่นของเทคโนโลยีอนาล็อก และดิจิตัลเข้าไว้ด้วยกันอย่างลงตัว ด้วยระบบเซอร์กิตอัจฉริยะ "Valve Reactor" ประดิษฐกรรมพิเศษเฉพาะจาก Vox และเทคโนโลยีดิจิตัลโมเดลลิ่งชั้นสูง ทำให้ ToneLabSE กลายเป็นเอฟเฟกต์โปรเซสเซอร์ขนาดใหญ่ที่ปฏิวัติรูปแบบใหม่ของโลกโมเดลลิ่งจนถึงขั้นสามารถ "สร้างเสียงแท้ๆของแอมป์หลอด" ไม่ใช่แค่ "จำลองเสียงให้เหมือนแอมป์หลอด" เท่านั้น

 
   
 


 Valve Reactor Technology

เทคโนโลยี Valve Reactor ถูกนำมาใช้ครั้งแรกในแอมป์ Vox ซีรี่ส์ Valvetronix ซึ่งใน ToneLabSE ก็ใช้เทคโนโลยีเดียวกันนี้เช่นกันเพียงแต่มีการปรับแต่งสมรรถนะให้เหมาะกับการแสดงดนตรีสดมากยิ่งขึ้น และเนื่องจากเอฟเฟกต์โมเดลลิ่งทั่วๆไปที่นิยมนำมาใช้บันทึกเสียงแบบต่อตรงเข้าไลน์ มักจะไม่นิยมติดตั้งวงจรเพาเวอร์แอมป์และตัวเอาต์พุตทรานซฟอร์มเมอร์ไว้ด้วย เนื่องจากเอฟเฟกต์ไม่ได้ต่อเข้าที่ลำโพงโดยตรงนั่นเอง พูดง่ายๆก็คือแอมป์โมเดลลิ่งทั่วไปจะมีแค่วงจรปรีแอมป์เท่านั้นแต่ไม่มีเพาเวอร์แอมป์ ซึ่งทั้งที่ในความเป็นจริงแล้วโทนหรือซาวด์ของแอมป์หลอดนั้นไม่ได้เกิดจากปรีแอมป์เพียงอย่างเดียว แต่ยังเกี่ยวโยงไปถึงโทนและเสียงแตกจากเพาเวอร์แอมป์ที่กระทำ ต่อลำโพงที่มีค่าอิมพีแดนซ์ต่างๆกันอีกด้วย

นอกจากนี้ในส่วนของเอาต์พุต ToneLabSE ได้ติดตั้งระบบวงจรเพาเวอร์วัตต์ต่ำและตัวเอาต์พุตทรานซฟอร์มเมอร์เสมือนจริงที่ใช้ทรานซิสเตอร์ (solid-state) เลียนแบบการทำงานของตัวเอาต์พุตทรานซฟอร์เมอร์ นอกจากนี้ยังมีการติดตั้ง "แม่แบบวงจร" สำหรับควบคุมการเปลี่ยนแปลงค่าอิมพีแดนซ์เพื่อให้ตรงกับค่าอิมพีแดนข์ของลำโพงจริงที่ถูกเลือกใช้อีกด้วย

เราจะเห็นว่าในส่วนของคลังเสียงที่เป็นการจำลองจากของจริง ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของแอมป์โมเดลลิ่ง คาบิเน็ตโมเดลลิ่งหรือในส่วนของเสียงเอฟเฟกต์ต่างๆนั้นจะเกิดจากการทำงานด้วยระบบดิจิตัลล้วนๆ แต่ในส่วนของเพาเวอร์แอมป์ Valve Reactor นั้นถือได้ว่าเป็นอนาล็อก 100% และส่วนสำคัญอยู่ที่การติดตั้งหลอด 12AX7 หรือ ECC83 (12AX7 เป็นการเรียกแบบอเมริกันส่วน ECC83 เป็นการเรียกแบบอังกฤษ) ซึ่งเป็นหลอดแบบ "ดูอัล ทรัยโอด" (dual triode) หมายความว่ามีสองหลอดอยู่ในหนึ่งเดียว และถูกติดตั้งอย่างปลอดภัยภายใต้แคปซูลแก้ว ข้อดีจากการที่สัญญาณกีตาร์ของเราได้ผ่านกระบวนการอนาล็อก ในขั้นตอนสุดท้ายนั้นจะช่วยให้ซาวด์ที่เกิดจากการจำลองด้วยระบบดิจิตัลมีความอุ่น วอร์ม ตอบสนองต่อฟีลการเล่น และให้น้ำเสียงที่เป็นธรรมชาติตามแบบของแอมป์หลอดและตู้ลำโพงนั้นจริงๆ

เพาเวอร์แอมป์เอาต์พุตของ Valve Reactor ใน ToneLabSE นี้ถูกออกแบบมาเพื่อให้ "อ่าน" การเปลี่ยนแปลงของค่าอิมพีแดนซ์ของระบบวงจร "ลำโพงแม่แบบ" ที่อยู่ในเครื่อง จากนั้นก็จะ "ส่ง" ข้อมูลที่ได้กลับไปที่ตัวเอาต์พุตทรานซฟอร์มเมอร์เช่นเดียวกับการทำงานของแอมป์หลอดแท้ๆ

นอกจากระบบเพาเวอร์แอมป์อัจฉริยะนี้แล้ว ToneLabSE ยังมีการ "ถอดแบบ" หรือจำลองแบบการทำงาน "ลักษณะวงจร" ซึ่งเป็นแคแรกเตอร์เฉพาะตัวของเพาเวอร์แอมป์ในแอมป์หลอดแต่ละชนิดที่ถูกจำลองมา แคแรกเตอร์วงจรที่ว่านี้เราแบ่งเป็นสองลักษณะการทำงานคือแบบ Class A และ Class AB, วงจรคอนโทรล Presence และ Resonance ซึ่งปัจจัยต่างๆเหล่านี้นี่เองที่จะเป็นตัวบ่งบอกถึงเอกลักษณ์อันโดดเด่น และความแตกต่างของแอมป์รุ่นคลาสสิกแต่ละชนิด จึงทำให้เราได้น้ำเสียงแท้ๆของแอมป์ชนิดนั้นๆที่เราเลือกอย่างแท้จริง

 
   


แอมป์ และ คาบิเน็ต โมเดลลิ่ง

Vox ได้บรรจงเลือกสรรแอมป์หลอด 16 ชนิดที่ถือได้ว่าคลาสสิกที่สุดในโลกมาบรรจุไว้ใน ToneLabSE มีทั้งซาวด์แบบอังกฤษอย่าง AC15 หรือ AC30 ซึ่งเป็นแอมป์ของ Vox เอง หรือจะเป็นซาวด์แบบอเมริกันอย่าง Tweed หรือ US Hi Gain ไ ปจนถึงพวกแอมป์ไฮ-เอนด์คัสตอมเมด ประเภทแฮนด์เมดสั่งทำเป็นการเฉพาะ ครอบคลุมทั้งแอมป์รุ่นวินเทจที่ให้เสน่ห์ซาวด์ในแบบวินเทจแท้ๆ ไปจนถึงแอมป์สมัยใหม่ที่ได้รับความนิยมหลายๆรุ่น มีตั้งแต่แอมป์ที่โดดเด่นในเรื่องของเสียงใสไปจนถึงแอมป์ไฮ-เกนที่ให้พลังขับพุ่งดุดัน และเมื่อเราเลือกชนิดของแอมป์แล้ว วงจรเพาเวอร์แอมป์ของ ToneLabSE ก็จะคำนวณลักษณะการทำงานของเพาเวอร์แอมป์จากของจริง เช่นว่าแอมป์ที่เราเลือกนั้นเป็นแอมป์ Class A หรือ Class AB ใช้หลอดชนิดไหน EL84s, EL34s, 6L6s หรือ 6V6s อย่างเช่นถ้าเราเลือกแอมป์โมเดลเป็น AC30TB ซึ่งแอมป์ Vox AC30 จริงๆนั้นจะเป็นแอมป์แบบ Class A ใช้หลอดเพาเวอร์แอมป์ EL84 ซึ่งวงจร Valve Reactor ใน ToneLabSE ก็จะปรับตัวเองไปตามลักษณะการทำงานนั้นทันที

นอกจากนี้ยังมีการจำลองแบบตู้ลำโพงยอดนิยมไว้อีกถึง 11 แบบ ซึ่งคำนวนตามการออกแบบของตู้นั้นจริงๆ ไม่ว่าจะเป็นค่าอิมพีแดนซ์ของลำโพงที่มีความสำคัญต่อเอาต์พุตของแอมป์หลอด รวมถึงจำนวนดอกและชนิดแม่เหล็กของดอกลำโพงที่ใช้ ไปจนถึงลักษณะการออกแบบตู้ ความหนาของไม้ที่ใช้ทำตู้ แม้กระทั่งเป็นตู้หลังเปิดหรือหลังปิด อย่างเช่น ถ้าคุณเลือกตู้ Tweed 4x10 คุณก็จะได้ตู้ที่ให้ซาวด์แบบอเมริกัน ลำโพงใช้แม่เหล็ก Alnico เป็นตู้หลังเปิด ใช้ลำโพงขนาด 10" สี่ดอก และมีค่าอิมพีแดนซ์ 8 โอห์ม เป็นต้น

สาเหตุที่ Vox ให้ความสำคัญกับสิ่งเล็กๆน้อยๆเหล่านี้ก็เพราะว่า ทั้งหมดล้วนเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้คุณได้ซาวด์ที่น่าพึงพอใจ ไม่ใช่แค่ใกล้เคียงแต่ได้อย่างที่ต้องการจริงๆ และคุณสามารถเลือกชนิดของแอมป์มาใช้งานร่วมกับชนิดของตู้ลำโพงได้อย่างไม่มีข้อจำกัด มีเพียงแค่ความพอใจของคุณเท่านั้น

เอฟเฟกต์

ToneLabSE เป็นแหล่งรวมคลังเสียงเอฟเฟกต์กีตาร์ไว้มากมาย ซึ่งจะมีการแบ่งไว้ประเภทหมวดหมู่คือ

Pedal 16 ชนิด Compressor, Acoustic Simulator, Vox Wah, Auto Wah, U-Vibe (Univox Univibe), Blk/Org Phaser, Octave, Ring Modulator, Treble Boost, Tube Overdrive, Super Overdrive, Boutique, Fat Overdrive, Orange Distortion, Fuzz และ OctaFuzz
Modulation 11 ชนิด Classic Chorus, Stereo Chorus, Classic Flanger, Bi Chorus, Duo Phase, TexTrem, Rotary, Pitch Shifter, Mod Delay, Filtron และ Talk Mod
Delay 11 ชนิด Echo Plus, Multi Head, Analog Delay, Mod Delay, Sweep Delay, Stereo Delay, Cross Delay, Top Delay, Rhythm Delay, Hold Delay และ Reverse Delay
Reverb 11 ชนิด Spring1, Spring2, Plate1, Plate2, Chamber1, Chamber2, Room1, Room2, Hall1, Hall2 และ Gate


ครบถ้วนตั้งแต่เอฟเฟกต์แบบก้อนสตอมพ์บ็อกซ์ไปจนถึงเอฟเฟกต์ระดับคุณภาพสูงที่ใช้งานในห้องบันทึกเสียง หรือแม้แต่เอฟเฟกต์อนาล็อกหายากที่น้ำเสียงยังคงเป็นที่คิดถึงอยู่จนทุกวันนี้อย่าง Chorus โบราณ ตู้ลำโพงหมุนแบบตู้ Leslie และ Delay/Echo ชนิดวินเทจแท้ๆที่สร้างด้วยเทปเป็นต้น ไม่เท่านั้น เอฟเฟกต์บางตัวคุณยังสามารถเปลี่ยนการเซ็ตติ้งเอาต์พุตได้อีกด้วย จะให้เป็นแบบโมโน สเตอริโอ หรือจะให้เป็นสเตอริโอโดยสัญญาณออกเป็น มี/ไม่มี เอฟเฟกต์ก็ได้ นอกจากนี้ยังสามารถปรับเปลี่ยนลำดับการเรียงเอฟเฟกต์ Modulation, Delay และ Reverb ได้อย่างหลากหลาย สามารถเลือกใช้ได้กลุ่มละ 1 ชนิดหรือ 4 เอฟเฟกต์พร้อมกันรวม Noise Reduction อีกหนึ่งตัว ปุ่มปรับค่าต่างๆเข้าใจง่าย สามารถปรับให้ตรงกับรสนิยมการเล่นของคุณได้อย่างไม่ยุ่งยาก

และเมื่อปรับซาวด์ได้ตรงใจแล้ว คุณสามารถเก็บชนิดของแอมป์ ตู้ลำโพง และการปรับแต่งเอฟเฟกต์ไว้เป็นเสียงประจำตัวของคุณเอง ได้ด้วยการจัดเก็บไว้ในเมมโมรี่ที่สามารถเก็บได้มากถึง 96 โปรแกรมเสียง แต่ละโปรแกรมสามารถจัดเก็บไว้ได้ 2 แชนนัล คือ A และ B นอกจากนี้ยังมีพรีเซ็ตโปรแกรมเสียงคลาสสิกของแอมป์ต่างๆที่ให้คุณพร้อมใช้งานอีก 32 โปรแกรม

ToneLabSE มาพร้อมกับเครื่องตั้งสายโครมาติกในตัว มีแป้นเหยียบ Expression Pedal ที่หน้าตาเหมือน Vox Wah สองแป้น ซึ่งเราสามารถใช้เป็น wah wah , วอลลุ่มเท้า หรือจะใช้เป็นตัวคอนโทรลลักษณะของเสียงเอฟเฟกต์ก็ได้ มีปุ่มเหยียบสำหรับ Control 1 ปุ่ม, F/X On/Off 1 ปุ่ม, คอนโทรลชนิดของเอฟเฟกต์ 4 ปุ่ม, เลือกแชนนัล A/B 1 ปุ่ม, เลือกโปรแกรม Bank Up และ Down อีก 2 ปุ่ม ซึ่งฟังก์ชั่นทั้งหมดช่วยให้ผู้เล่นสามารถควบคุมการทำงาน ToneLabSE ได้ด้วยเท้า นับเป็นวิธีที่สะดวกอย่างยิ่งสำหรับการใช้งานบนเวที

นอกจากเอฟเฟกต์ที่มีอยู่ใน ToneLabSE แล้ว คุณยังสามารถพ่วงต่อเข้ากับเอฟเฟกต์ภายนอกได้อีก อย่างพวกสตอมพ์บ็อกซ์ที่เพิ่มเติมเข้ามา โดยผ่านช่อง Send/Return และช่องต่อ MIDI In/Out ก็ช่วยให้สามารถใช้งาน ToneLabSE ร่วมกับซีเควนเซอร์หรือคอมพิวเตอร์ได้อย่างง่ายดาย นอกจากนี้ยังมีโปรแกรมซอฟต์แวร์ Sound Editor ที่จะช่วยให้คุณเห็นภาพการปรับแต่งซาวด์และค่าพารามิเตอร์ต่างๆ รวมถึงการจัดการและจัดเก็บโปรแกรมต่างๆไว้ใน ToneLabSE ได้ชัดเจนยิ่งขึ้น สามารถดาวน์โหลด ToneLabSE Sound Editor ได้จากเว็บไซต์ของ Vox : http://www.voxamps.co.uk หรือ http://www.valvetronix.com



    ©Copyright 2005 Beh Ngiep Seng Musical Instruments Ltd.,Part. All reserved.